วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

บทที่ 8 การใช้โปรแกรมเสริมสร้างงานแอนนิเมชั่นด้วยโปรแกรม Macromedia Flash MX

ประวัติความเป็นมาของ Flash

ต้นปี 1995 บริษัท Macromedia ได้ผลิต Plug-in ของโปรแกรม Director ชื่อ Shockwave for Director ซึ่งได้รับความนิยม แต่มีปัญหาที่ไฟล์มีขนาดใหญ ปลายปี 1995 บริษัท Futurewave ได้ผลิต Plug-inของบราวเซอร์ชื่อ Future Splashซึ่งสนับสนุนการแสดง Animation บนเว็บได้ เช่น ป้ายโฆษณา (Banner) ไฟล์พวก GIF แต่มีปัญหาคือ ไม่สนับสนุนเวอร์ชันเก่า(แหล่งอ้างอิง: ยุทธชัย รุจิรวิมล คู่มือการเรียนรู้และเทคนิคการใช้งานMacromedia Flash MX -- กรุงเทพฯ : ซัคเซส มีเดีย, 2549.)
• ปี 1996 บริษัท Macromedia ได้ควบกิจการบริษัท Futurewave และได้นำจุดเด่นของ Future Splash มาเสริมShockwave for Director บริษัทMacromedia ได้พัฒนาโปรแกรม Future Splash และได้เปลี่ยนชื่อเป็นMacromediaเวอร์ชัน 2 ผลิต Plug-in ของบราวเซอร์ชื่อ Shockwave Flash ซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูง
• ปี 1998 Shockwave Flash กลายเป็น Plug-in มาตรฐานบนบราวเซอร์ มีผู้ใช้จำนวนมาก
• ปี 1999 ผลิต Macromedia Flash เวอร์ชั่น 4
• ปี 2000 ผลิต Macromedia Flash เวอร์ชั่น 5
• ปี 2002 เปิดตัว Macromedia Flash เวอร์ชั่น 6 โดยเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น Flash MX
• ปี 2004 เปิดตัว Macromedia Flash เวอร์ชั่น 7 โดยเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น Flash MX 2004
• พัฒนามาจนถึงปัจจุบันที่เป็นที่นิยม คือ Macromedia Flash 8, Flash CS3
เรามารู้จักกับ Flash กันดีกว่าค่ะ Flash เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับสร้างภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหวการ์ตูนและมัลติมีเดียบนเว็บ สร้างเบนเนอร์ ภาพเคลื่อนไหวและมัลติมีเดียที่สร้างจาก Flash ว่า
Movie เราสามารถนำมาทำได้หลายรูปแบบ
• ภาพเคลื่อนไหว ตัวอักษรลูกเล่นแบบต่างๆ ภาพและโลโก้แบรนด ์ตา่ งๆ เล่นพร้อมกับเสียงและเอฟเฟ็กต์ประกอบ เช่น ภาพหน้าแรกของ Homepage แบนเนอร์ โฆษณาต่างๆ การนำเสนอข้อมูลผ่าน
สไลด์หรือ Template ที่เตรียมไว้
• สร้างเว็บไซต์ โดยใช้ Flash สร้างเว็บเลย
• สร้างเกมต่างๆ ที่มี Active สร้างสามารถดึงดูดความสนใจของผู้เข้าชมได้ และโปรแกรมที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ไปจนถึงฟอร์มที่ให้ผู้ใช้กรอกข้อมูลสมัครหรือข้อมูลที่ทางเว็บไซต์ต้องการการสร้าง
ภาพกราฟิกของ Flash
• ภาพ Raster เป็นภาพที่เกิดจากเม็ดสีหรือจุดสีที่เรียกว่า Pixel มาเรียงกันจนเป็นภาพ ความสวยงามขึ้นอยู่กับความละเอียดของเม็ดสีถ้าภาพคมชัดมาก ขนาดของไฟล์ก็จะใหญ่ตามไปด้วย
• ภาพ Vectorใช้การคำนวณทางคณิตศาสตร์ ไม่เกิดปัญหารอยแตกหรือรอยหยักเมื่อขยายภาพ มีขนาดไฟล์น้อยเวลาโหลดจะใช้เวลาน้อย
• Flash ใช้หลักการ Vector ในการสร้างภาพทฤษฎีหลักพื้นฐานกราฟิกขบวนการทำงานออกแบบกราฟิก
1. วิเคราะห์โจทย์
2. สร้างแนวคิดหลักในการออกแบบ
3. ศึกษางาน หรือกรณีตัวอย่างที่มีอยู่แล้ว
4. ออกแบบร่าง
5. ออกแบบจริง

การมองภาพ (Graphic Eyes)
การมองภาพแบบมีศิลปะ มีหลัก 2 อย่างในการพิจารณา
- มองเข้าไปในความหมายของภาพ
- มองลึกเข้าไปในรายละเอียดขององค์ประกอบต่างๆองค์ประกอบพื้นฐานของภาพภาพใดๆ ล้วนมีองค์ประกอบอยู่ภายในทั้งสิ้น องค์ประกอบพื้นฐานของภาพได้แก่
- จุด
- เส้น
- ระนาบ

จุด : Dot
จุดมีองค์ประกอบที่มีขนาดเล็ก ที่มีความกว้างและความยาวใกล้เคียงกัน มีจุดเด่นในการจัดวางให้เกิดการเรียกร้องความสนใจคุณสมบัติของจุด
- เรียกร้องความสนใจของสายตาได้ดี
- บอกและกำหนดตำแหน่งในภาพ
- การวางจุด 2 จุด จะได้พื้นที่ที่ระหว่างจุดที่ให้ความรู้สึกดดึงดูดระหว่างกัน
เส้น : Line
เส้นเป็นองค์ประกอบที่มีความยาว เกิดจากการนำจุดมาเคลื่อนที่ หรือวางเรียกต่อๆ กัน เส้นมีคุณสมบัติเด่นในการน่าสายตาหรือเป็นแนวแบ่งภาพคุณสมบัติของเส้น
- เส้นมีความยาวมากกว่าความกว้างและความหนาอย่างเห็นได้ชัด จึงทำให้เกิดความรู้สึกไปทางด้านยาวด้านเดียว
- น่าสายตา กำหนดทิศทาง และความต่อเนื่อง
- นำสายตา กำหนดทิศทาง และความต่อเนื่อง
- แบ่งซอยภาพอารมณ์ และความรู้สึกจากเส้นแบบต่างๆ
- เส้นตรง ให้ความรู้สึกมั่นคง เป็นระบบ
- เส้นนอน ให้ความสงบ นิ่ง เรียบร้อย
- เส้นเฉียง ให้ความรู้สึกถึงการเคลื่อนไหว ความไม่หยุดนึ่ง พลังขับเคลื่อน
- เส้นโค้ง ให้ความรู้สึกทีนิ่มนวล พลิ้วไหว
- เส้นหยึกหยัก ให้ความรู้สึกถึงความไม่เป็นระเบียบ การไม่อยู่ในกรอบ ความอิสระ หรือความสับสนวุ่นวาย
- เส้นเล็กและบาง ให้ความรู้สึกเบาและเฉียบคม
- เส้นหนา ให้ความหนักแน่นในการนำสายตา